เทคนิคกันอุบัติเหตุ นั้นแน่นอนว่ามีมาตราฐานการป้องกันอุบัติเหตุด้วยการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานอยู่แล้ว ก็สามารถช่วยให้มีความปลอดภัยมากขึ้น เช่น การออกแบบถนนที่ดี การติดกระจกโค้งตามจุดบอด การมีลูกระนาดบนพื้นถนนเพื่อลดความเร็วเมื่อถึงทางโค้ง การติดป้ายเตือนเด็กข้ามถนน ฯลฯ  แม้กระนั้น พฤติกรรมเองก็มีส่วนเป็นอย่างมากในการทำให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน ดังนั้น การรณรงค์อย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ผู้ใช้ไปจนถึงระดับการวางแผน เช่น การสนับสนุนการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ตามสื่อต่างๆ การอบรมจัดกิจกรรมและนิทรรศการรณรงค์ลดอุบัติเหตุจราจรในสถานศึกษา การวางแผนเพื่อเชื่อมโยงระบบคมนาคมขนส่ง ฯลฯ จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะ มาตราที่เป็นการ “บังคับ” (hard measures) และมาตราที่เป็นการ “รณรงค์” (soft measures) ไม่เพียงทดแทนไม่ได้ แต่ยังมีส่วนส่งเสริมกันและกัน ทำให้การลดอุบัติเหตุทางถนนมีประสิทธิผลมากขึ้น

เทคนิคการป้องกันอุบัติเหตุ

แต่ถึงกระนั้นการชักชวนคนขับรถให้ช้าลงก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย และในระยะยาวแล้ว อาจเป็นเรื่องยากกว่าเสียด้วยซ้ำ เพราะ ความท้าทายในการลดอุบัติเหตุบนท้องถนน คือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ซึ่งรวมถึงการอบรมให้ความรู้เยาวชนรุ่นใหม่ ทว่าบริบทของสังคมและพฤติกรรมของคนนั้นเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น การรณรงค์จึงควรทำอย่างสร้างสรรค์และอย่างต่อเนื่อง เรามาดูข้อมูลเบื้องต้น ที่ผู้ขับขี่ต้องคำนึง และควรปฏิบัติตาม เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้น

เทคนิคกันอุบัติเหตุ

ผู้ขับขี่ ต้องมีความรอบรู้เกี่ยวกับ

* เรื่องรถ

* เรื่องเส้นทาง

* เรื่องวิธีการขับขี่รถ

* เรื่องกฎจราจร

* เรื่องมารยาทในการขับรถ

ผู้เดินถนนหรือประชาชนทั่วไปต้องมีความรู้เรื่อง

* การเดินรถ

* การข้ามถนน

* การโดยสารที่ปลอดภัย

ผู้ขับขี่หรือผู้เดินถนน ถึงแม้ว่าจะมีความรู้เกี่ยวกับการจราจรแล้ว

* ต้องปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด

* ไม่ขับรถด้วยความประมาท มีความระมัดระวังในการขับรถ

* ไม่ขับรถในขณะที่ร่างกายหย่อนสมรรถภาพ

* ไม่ขับรถในขณะมึนเมาสุรา

* ไม่ขับรถในขณะที่ทานยาประเภทมีฤทธิ์ทำให้เกิดอาการง่วงซึม เช่น ยาแก้อาการแพ้, ยาแก้ไข้หวัด

 เทคนิคกันอุบัติเหตุ

 

สิ่งที่ควรคำนึงถึงสิ่งแรกเมื่อขับรถอยู่บนท้องถนนคือ ความปลอดภัยของตัวเองและผู้ร่วมใช้ทาง ความเสี่ยงเป็นเรื่องที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แต่หากใส่ใจปฏิบัติเรื่องเหล่านี้ก็สามารถช่วยลดอุบัติเหตุ

  • ก่อนสตาร์ทรถให้ตรวจเช็คลมยางก่อนทุกครั้ง หากพบว่าลมยางอ่อนเกินไป ควรแวะเข้าปั้ม หรืออู่ที่ใกล้เคียงเพื่อเติมลมยางให้พอดีไม่แข็งและไม่อ่อนการให้สัญญาณไฟ หากต้องการจะเลี้ยวรถ   ควรชะลอรถและเปิดไฟเลี้ยวก่อนถึงทางเลี้ยวไม่น้อยกว่า 30 เมตร เพื่อส่งสัญญาณให้รถที่ขับตามหลังลดความเร็วได้ทัน จนเกินไป
  •  ไม่ขับรถเร็วเกินไป เพราะอุบัติเหตุเป็นสิ่งที่ไม่คาดฝัน ดังนั้นไม่ควรประมาท และควรใช้ความเร็วมาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด
  • ไม่ใช้โทรศัพท์ขณะขับรถ การใช้โทรศัพท์ขณะขับรถทำให้ผู้ขับขี่ไม่มีสมาธิ อาจส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงได้ ทางที่ดีเมื่อมีความจำเป็นต้องรับสาย หรือต้องการโทรออกอย่างเร่งด่วนควรใช้อุปกรณ์เสริมช่วย
  • เมาไม่ขับ จากสถิติสาเหตุที่เกิดอุบัติส่วนใหญ่มาจากพฤติกรรมการเมาแล้วขับ หากรู้ตัวว่าเมา ทำให้ความสามารถในการขับรถลดน้อยลง ควรนั่งรถแท็กซี่กลับบ้าน หรือให้เพื่อนที่ไม่เมาขับรถไปส่ง วิธีนี้จะช่วยป้องกันและช่วยลดอุบัติเหตุได้
  • คาดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้ง  เมื่อขึ้นรถสิ่งแรกที่ควรทำคือคาดเข็มขัดนิรภัย และควรกำชับให้ผู้ร่วมเดินทางในรถคาดเข็มขัดนิรภัยด้วย  เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้รถและผู้ร่วมเดินทาง
  • นำรถเข้าเช็คสภาพอยู่เสมอ  เมื่อถึงกำหนดเช็คระยะหรือใช้รถไปได้สักระยะหนึ่งแล้วควรเข้าศูนย์ หรืออู่ใกล้บ้านเพื่อตรวจสอบเช็คเครื่องยนต์ เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง เปลี่ยนสายพาน สลับยาง การถ่วงล้อ เป็นต้น เพื่อให้มั่นใจว่าสามารถใช้รถได้อย่างปลอดภัยไร้กังวลและไม่เกิดปัญหาขณะขับรถ

เทคนิคกันอุบัติเหตุ