ลักษณะสำคัญประการหนึ่งของกฎหมายก็คือ  กฎหมายต้องเป็นคำสั่ง  หรือข้อบังคับที่ใช้ได้เสมอไป  (Continuity)  หมายความว่ากฎหมายเมื่อประกาศมีผลบังคับใช้แล้วก็ใช้ได้ตลอดไปจนกว่าจะถูกแก้ไข เปลี่ยนแปลงหรือยกเลิก  โดยกระบวนการที่ถูกต้องตามขั้นตอนในภายหลัง  เพราะตราบใดที่ยังไม่มีการยกเลิกก็ต้องถือว่ากฎหมายนั้นยังมีอยู่   จะหยิบยกขึ้นมาใช้เมื่อใดก็ยังคงมีผลบังคับใช้ได้ดังสุภาษิตกฎหมายที่กล่าวว่า  “กฎหมายนอนหลับบางคราวแต่ไม่เคยตาย” (The Laws Sometime Sleep, Never die)   การบังคับใช้ กฏหมายการจราจรบนท้องถนน จะมีการปรับปรุงแก้ไขเปลี่ยนแปลง   เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพการจราจรอยู่ตลอดเวลา   จึงจำเป็นต้องเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

กฏหมายการจราจรบนท้องถนน

การกระทำความผิดกฎหมายเกี่ยวกับการจราจรเป็นการกระทำผิดที่มีโทษทางอาญาประเภท  Mala Prohibita    ซึ่งหมายถึงการกระทำผิดที่กฎหมายได้บัญญัติไว้ว่าเป็นความผิด   กล่าวคือการกระทำนั้น ๆ  ไม่ได้เป็นความชั่วหรืออาชญากรรมด้วยตัวของมันเองแต่อย่างใด  เช่น  การที่ผู้ขับขี่รถยนต์จะเลี้ยวซ้าย หรือเลี้ยวขวาก็ย่อมสามารถกระทำได้โดยอิสระหากขับขี่ในบ้านของตนเอง   แต่หากขับขี่ไปบนท้องถนนแล้วฝ่าฝืนเครื่องหมายจราจรบังคับห้ามเลี้ยวซ้ายเข้า  ก็จะเป็นความผิดทันที  ทั้ง ๆ  ที่การเลี้ยวซ้ายหรือเลี้ยวขวาก็ไม่ได้เป็นการชั่วหรือเป็นอาชญากรรมแต่อย่างใด

กฎจราจรมีความสำคัญอย่างมากสำหรับผู้ใช้รถใช้ถนนและแม้กระทั่งคนเดินเท้าก็ต้องปฎิบัติตามกฎจราจรเช่นเดียวกัน กฎจราจรของคนเดินเท้าก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน เช่น การเดิมข้ามถนนจะต้องเดินข้ามตรงทางม้าลายหรือสะพานลอยเท่านั้น เพื่อความปลอดภัยของตัวผู้คนเท้าเองและผู้ขับขี่รถยนต์ เพราะอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับคนเดินเท้า คือการข้ามถนนไม่ตรงจุดที่กำหนดให้คือทางม้าลายหรือสะพานลอยนั้นเอง

กฏหมายการจราจรบนท้องถนน

ประโยชน์ของการปฏิบัติตาม กฏหมายการจราจรบนท้องถนน

  • ทำให้การจราจรบนท้องถนนไม่ติดขัด เมื่อทุกคนปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัดในการขับขี่ยานพาหนะแต่ละคนก็ขับขี่ไปตามเส้นทางของตน ตามกันข้าม ถ้ามีบางคนไม่ปฏิบัติตามกฎจราจรก็อาจจะทำให้เกิดปัญหาการจราจรติดขัดขึ้นได้รถยนต์
  • การปฏิบัติตามกฎจราจรจะเป็นการปัองกันอุบัติเหตุที่จะน่ามาซึ่งความสูญเสียชีวิตทั้งร่างกายและทรัพย์สินของประชาชนและประเทศชาติในปัจจุบันนี้ยังมีผู้ฝ่าฝืนกฎหมายจราจรอยู่เสมอ จะเห็นได้จากข่าวอุบัติเหตุตามท้องถนนสายต่างๆ ทั้งในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด นักเรียนเป็นผู้หนึ่ง

ความหมายกฎจราจรของคำที่ควรทราบ

  • การจราจร หมายความว่า การใช้ทางของผู้ขับขี่ คนเดินเท้าหรือคนที่จูง ขี่หรือไล่ต้อน สัตว์
  • ทาง หมายความว่า ทางเดินรถ ช่องเดินรถประจำทางไหล่ทาง ทางเท้า ทางข้าม ทางร่วม
  • ทางแยก ทางลาด ทางโค้ง สะพาน และลานที่ประชาชนใช้ในการจราจร และให้หมาย ความรวมถึงทางส่วนบุคคลที่เจ้าของยินยอมให้ประชาชนใช้ในการจราจร หรือเจ้าพนักงานจราจร
  • ได้ประกาศให้เป็นทางตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย แต่ไม่รวมไปถึงทางรถไฟ
  • เขตปลอดภัย หมายความว่า พื้นที่ในทางเดินรถที่มีเครื่องหมายแสดงไว้ให้เห็นได้ชัดเจน
  • ทุกเวลา สำหรับให้คนเดินเท้าที่ข้ามทางหยุดรอหรือให้คนที่ขึ้น หรือลงรถหยุดรอก่อนจะข้ามทางต่อไป
  • ที่คับขัน หมายความว่า ทางที่การจราจรพลุกพล่าน หรือมีสิ่งกีดขวางหรือในที่ซึ่งมองเห็นหรือ
  • ทราบได้ล่วงหน้าว่าอาจเกิดอันตราย หรือความเสียหายแก่รถหรือคนได้ง่าย
  • รถฉุกเฉิน หมายความว่า รถดับเพลิงและรถพยาบาลและรถพยาบาลของราชการบริหารส่วนกลาง ราชการบริหารส่วนภูมิภาค และราชการบริหารส่วนท้องถิ่นหรือรถอื่นที่ได้รับอนุญาตจากอธิบดี ให้ใช้ไฟสัญญาณแสงวับวาบ หรือให้ใช้เสียงสัญญาณไซเรนหรือเสียงสัญญาณอื่นตามที่จะกำหนดให้
  • สัญญาณจราจร หมายความว่า สัญญาณใด ๆ ไม่ว่าจะแสดงด้วยธงไฟฟ้า มือ แขน เสียงนกหวีด หรือวิธีอื่นใดสำหรับให้ผู้ขับขี่ คนเดินเท้า หรือคนที่จูงขี่หรือไล่ต้อนสัตว์ ปฏิบัติตามสัญญาณนั้นเครื่องหมายจราจร หมายความว่า เครื่องหมายใด ๆ ที่ได้ติดตั้งไว้หรือทำให้ปรากฏใน
  • ทางสำหรับให้ผู้ขับขี่ คนเดินเท้า หรือคนที่จูง ขี่ หรือไล่ต้อนสัตว์ ปฏิบัติตามเครื่องหมายนั้น
  • ขอบทาง หมายความว่า แนวริมของทางเดินรถ
  • ไหล่ทาง หมายความว่า พื้นที่ที่ต่อจากขอบทางออกไปทางด้านข้าง ซึ่งยังมิได้จัดทำเป็นทางเท้า
  • ทางเท้า หมายความว่า พื้นที่ที่ทำไว้สำหรับคนเดินซึ่งอยู่ข้างใดข้างหนึ่งของทาง

หรือทั้งสองข้างของทาง หรือส่วนที่อยู่ชิดขอบทางซึ่งใช้เป็นที่สำหรับคนเดิน