ในสังคมปัจจุบันนี้วิทยาการต่างๆ ก้าวหน้าไปมาก การคมนาคมสะดวกขึ้น ในสมัยโบราณจะเดินทางไปที่ใดก็อาศัยการเดิน ถ้าเดินทางไปในระยะทางไกลก็จะใช้สัตว์เป็นพาหนะ เช่น ช้าง ม้า ฯลฯ แต่ในปัจจุบันนี้จะเห็นว่าการคมนาคมรวดเร็วทั้งทางบก ทางเรือและทางอากาศ โดยเฉพาะการคมนาคมทางบก มีรถยนต์ประเภทต่างๆ เป็นพาหนะจำนวนมากขึ้นตามฐานะเศรษฐกิจของพลเมือง ดังนั้นจึงมีกฎหมายว่าด้วยการจรจรทางบกขึ้นมาเป็นหลักเพื่อควบคุมการใช้เส้นทางของผู้ขับขี่ คนเดินท้าคนจูงหรือหรือไล่ต้อนสัตว์

กฎหมายการจราจรทางบก

การจราจร มีบัญญัติอยู่ใน “พระราชบัญญัติการจราจรทางบก พ.ศ. 2522” (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 5 พ.ศ. 2538) ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีหลักการและวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมการใช้ถนนหรือทางของผู้ขับขี่ คนเดินเท้า หรือคนที่จูง ขี่ หรือไล่ต้อนสัตว์ ให้ปฏิบัติตามกฎหมายเพื่อสงวนไว้ซึ่งชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของบุคคลที่ต้องเดินทางเป็นกฎหมายที่มีโทษทางอาญา ผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามจะต้องรับโทษตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ กฎหมายเกี่ยวกับการจราจรจึงเป็นกฎหมายที่สำคัญยิ่งในปัจจุบันและเป็นกฎหมายใกล้ตัวที่เกี่ยวข้องกับชุมชนที่ทุกคนควรรู้และนำไปปฎิบัติ คำอธิบายนี้จะหยิบยกมาเฉพาะเรื่องที่น่ารู้ และการปลูกจิตสำนึกในการปฏิบัติตามกฎจราจรเป็นสำคัญ

กฎหมายให้ปฏิบัติตามหลักของกฎหมาย เพื่อสงวนไว้ซึ่งชีวิตและทรัพย์สินของบุคคล เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม   วัตถุประสงค์สำคัญของพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 คือ   ต้องการควบคุมการใช้รถใช้ถนนให้เป็นระเบียบเรียบร้อย

กฎหมายการจราจรทางบก เบื้องต้น

 

  1. สัญญาณจราจรและเครื่องหมายจราจร

สัญญาณ หมายความว่า สัญญาณใด ๆ ไม่ว่าจะแสดงด้วยธงไฟ ไฟฟ้า มือ แขน เสียง นกหวีด หรือด้วยวิธีอื่นใด สำหรับให้ผู้ขับขี่ คนเดินเท้า หรือคนจูง ขี่ หรือ ไล่ต้อนสัตว์ ปฏิบัติตามสัญญาณนั้น เช่น สัญญาณไฟเขียว ไฟแดง เป็นต้น

เครื่องหมายจราจร หมายความว่า เครื่องหมายใด ๆ ที่ได้ติดตั้งไว้หรือทำให้ปรากฎในเสียสุขภาพให้ผู้ขับขี่ คนเดินเท้า หรือคนที่จูง หรือไล่ต้อนสัตว์ปฏิบัติตามเครื่องหมายนั้น เช่น เครื่องหมายห้ามเลี้ยวซ้าย ห้ามเลี้ยวขวา ห้ามกลับรถ หรือห้ามจอด เป็นต้น

 

  1. สภาพรถและแผ่นป้ายทะเบียนรถ

ห้ามมิให้ผู้ใดนำรถที่มีสภาพไม่มั่นคงแข็งแรง หรืออาจเกิดอันตรายหรืออาจทำให้เสื่อมเสียสุขภาพอนามัยแก่ผู้ใช้ คนโดยสาร หรือประชาชนใช้ในทางเดินรถ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท

ห้ามมิให้ผู้ใดนำรถที่มิได้ติดแผ่นป้ายเลขทะเบียน แผนป้ายเครื่องหมายเลขทะเบียน หรือ ป้ายประจำรถ ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ กฎหมายว่าด้วยการขนส่ง กฎหมายว่าด้วยล้อเลื่อน กฎหมายว่าด้วยรถลาก หรือกฎหมายว่าด้วยรถจ้าง มาใช้ในทางเดินรถ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท

กฎหมายการจราจรทางบก

  1. การขับรถ ผู้ขับขี่ต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้

ในการขับรถ ผู้ขับขี่ต้องขับรถในทางเดินรถด้านซ้ายและต้องไม่ล้ำกึ่งกลางของทางเดินรถ เว้นแต่กรณีต่อไปนี้ให้เดินทางขวาหรือล่ำกึ่งกลางของทางเดินรถได้

ก.         ด้านซ้ายของทางเดินรถมีสิ่งกีดขวางหรือปิดการจราจร

ข.         ทางเดินรถนั้นเจ้าพนักงานจราจรกำหนดให้เป็นทางเดินรถทางเดียว

ค.         ทางเดินรถนั้นกว้างไม่ถึง 6 เมตร

 

ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมีความผิดต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 200 บาท ถึง 500 บาท

 

  1. ใบอนุญาตขับรถ

ผู้ขับรถต้องได้รับใบอนุญาตขับรถ และต้องมีใบอนุญาตขับรถและสำเนาภาพถ่ายใบคู่มือจดทะเบียนรถในขณะขับเพื่อแสดงต่อเจ้าพนักงานได้ทันที การขอใบอนุญาตขับรถนั้น ผู้ขอใบอนุญาตต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ และต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กฎหมายกำหนด โดยยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่ตนมีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่  ผู้ใดขับรถโดยไม่ได้รับอนุญาตขับรถต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน ปรับไม่เกิน 1,000 บาท

 

  1. ผู้ขับขี่และคนโดยสารรถจักรยานยนต์ต้องสวม “หมวกนิรภัย”

ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์และคนโดยสารรถจักรยายนต์ ต้องสวมหมวกที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อป้องกันอันตราย ในขณะขับขี่และโดยสารรถจักรยานยนต์ในท้องที่ที่กำหนด ดังต่อไปนี้

ในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร ให้มีผลบังคับใช้นับตั้งแต่ 15 ธันวาคม 2535 เป็นต้นไป

ในเขตท้องที่จังหวัดของแก่น ชลบุรี เชียงใหม่ นครปฐม นครราชสีมา นครศรีธรรมราช นครสวรรค์ นนทบุรี ปทุมธานี พิษณุโลก สงขลา สมุทรปราการ สมุทรสาคร สุราษฎร์ธานี อุดรธานี และอุบลราชธานี ให้มีผลใช้บังคับนับตั้งแต่ 15 กันยายน 2536 เป็นต้นไป

ในเขตท้องที่จังหวัดอื่น นอกจากที่กล่าวมาแล้ว ให้มีผลใช้บังคับ 15 กันยายน 2537 เป็นต้นไป ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท

กฎหมายเกี่ยวกับการจราจร

  1. ผู้ขับขี่รถยนต์และคนโดยสารรถยนต์ซึ่งนั่งที่นั่งตอนหน้าต้องรัดร่างกายด้วยเข็มขัดนิรภัย

ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 กำหนดให้ผู้ขับขี่รถยนต์ต้องรัดร่างกายด้วยเข็มขัดนิรภัยไว้กับที่นั่งในขณะขับขี่รถยนต์ และต้องจัดให้คนโดยสารรถยนต์ ซึ่งนั่งตอนหน้าแถวเดียวกับที่นั่งผู้ขับขี่รถยนต์รัดร่างกายไว้กับที่นั่งด้วยเข็มขัดนิรภัยในขณะโดยสารรถยนต์ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท

 

  1. ห้ามมิให้เสพยาบ้า (แอมเฟตามีน) ขณะขับรถ

ห้ามมิให้ผู้ขับขี่เสพหรือรับเข้าร่างกายไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทกลุ่มแอมเฟตามีน (ยาบ้า) หรือวัตถุออกฤทธิต่อจิตและประสาทอย่างอื่นที่อธิบดีกรมตำรวจหรือผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติในปัจจุบันกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เจ้าพนักงานจราจร พนักงานสอบสวน หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจจัดให้มีการตรวจสอบทั้งประเภทตามที่กำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกาาว่าได้เสพหรือรับเข้าร่างกายด้วยวิธีใด ๆ ซึ่งวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทกลุ่มแอมเฟตามีน หรือวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อประสาทอย่างอื่นที่กำหนดหรือไม่

ผู้ขับขี่ผู้ใดฝ่าฝืนมีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับตั้งแต่ 5,000 บาท ถึง 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลสั่งเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ แต่ถ้าการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับตั้งแต่ 40,000 บาท ถึง 80,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับและให้ศาลสั่งเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่

 

  1. ห้ามมิให้แข่งรถในทางหรือถนน

ห้ามมิให้ผู้ใดแข่งรถในทางหรือจัดสนับสนุน หรือส่งเสริมให้มีการแข่งรถทั้งจำทั้งปรับ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากเจ้าพนักงานจราจร

ผู้ใดฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับตั้งแต่ 2,000 บาท ถึง 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของผู้นั้นมีกำหนดไม่น้อยกว่า 1 เดือน หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่

กฎหมายเกี่ยวกับการจราจร