กระจกโค้ง  หรือ กระจกมองโค้ง เป็นผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบมาเพื่อเพิ่มความปลอดภัย สำหรับงานจราจร ทำให้สามารถมองเห็นยานพาหนะที่วิ่งสวนมาได้ถูกต้อง สามารถนำไปติดตั้งตามทางแยกต่าง ๆ อาคาร ลานจอดรถในอาคาร มุมอับต่าง ๆ ที่ไม่สามารถมองเห็นได้ ตัวกระจกเป็นกระจกเงาแท้ ไม่แตกลายเมื่อตากแดด  โดยมีชื่อเรียกหลายชื่อทั้งกระจกมองทางโค้ง  หรือเรียกอีกว่ากระจกส่องมุม,กระจกส่องทางโค้ง,กระจกจราจรทางโค้ง,กระจกมองทางแยก และกระจกส่องทางแยก  จะช่วยอำนวยความสะดวก และความปลอดภัยในบริเวณทางจราจร ที่เป็นทางแยกเป็นลักษณะมุมอับ หรือหักศอก ที่มีทัศนวิสัยในการมองที่ไม่สะดวกสบาย ปัญหาการมองรถทางแยกไม่เห็น หรือไม่ชัดเจน  กระจกมองทางโค้งนั่นเอง ที่จะช่วยให้ผู้ขับขี่ และผู้ใช้ถนน สามารถมองเห็นการจราจรที่ชัดเจน ในมุมอับในการมองเห็น

กระจกมองโค้ง กระจกโค้ง

ซึ่งวัสดุที่ผลิตกระจกโค้ง คือ กระจกโค้งโพลีคาร์บอเนต    เป็นแบบ Traffic Mirrorให้ความสะท้อนระยะในการมองเห็นได้ใกล้เคียงกับสัดส่วนระยะจริง  มีความพิเศษที่ทุบ ตก กระแทก ไม่แตก 100%มีกรอบและด้านหลังทำจากวัสดุ ABS ที่จะมีความทนทานต่อการใช้งาน มากกว่ากระจกธรรมดา และมีอายุการใช้งานมากกว่า 3 ปี ภายใต้อุณหภูมิ 50 – 60 องศาเซลเซียส  สามารถสำหรับประมาณระยะทางของยานพาหนะที่แล่นสวนมาได้อย่างถูกต้อง เพื่อป้องกันการเฉี่ยวชน หรืออุบัติเหตุต่างๆ ในทางคับแคบ และตามทางแยกที่เป็นมุมอับ โดยกระจกโค้งสามารถมักใช้สำหรับติดผนัง  ติดเสาจราจร และสามารถปรับได้ทุกมุม

มารู้จัก กระจกมองโค้ง ให้มากขึ้น

  • กระจกนูน หมายถึง  กระจกที่มีส่วนนูนรับแสง ทำหน้าที่กระจายรังสีสะท้อน คือ กระจกที่มีจุดศูนย์กลางความโค้งอยู่คนละด้านกับผิวสะท้อนแสง
  • กระจกเว้า หมายถึง  กระจกที่มีส่วนเว้ารับแสง ทำหน้าที่รวมของรังสีสะท้อนกระจกที่มีจุดศูนย์กลางความโค้งอยู่ด้านเดียวกับด้านผิวสะท้อนแสง

ส่วนประกอบของกระจกโค้ง

  1. จุดศูนย์กลางความโค้ง ตามรูปคือจุด C เป็นจุดที่เมื่อมีรังสีตกกระทบกระจกผ่านจุดนี้รังสีสะท้อนจะผ่านทางเดิม (แต่มีทิศตรงข้าม)
  2. ขั้วกระจก ตามรูปคือจุด O เป็นจุดที่แบ่งครึ่งกระจกออกเป็น 2 ส่วนเท่าๆ กัน
  3. จุดโฟกัส ตามรูปคือจุด F เป็นจุดรวมรังสีสะท้อน
  4. เส้นแกนมุขสำคัญ ในรูปคือเส้นตรงที่ลากผ่านจุด C F O
  5. ความยาวโฟกัส f คือระยะจากจุด O ถึงจุด F
  6. รัศมีความโค้งของกระจก R จะเท่ากับ 2f

กระจกมองโค้ง กระจกโค้ง

กระจกมองโค้ง กระจกโค้ง

ลักษณะของกระจกมองโค้ง

 

ชนิดที่ 1 แบบเลนส์อะคริลิค กรอบพลาสติก

  • กระจกโค้งจราจร เป็นผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบมาเพื่อเพิ่มความปลอดภัย สำหรับงานจราจร ทำให้สามารถมองเห็นยานพาหนะที่วิ่งสวนมาได้ถูกต้อง สามารถนำไปติดตั้งตามทางแยกต่าง ๆ อาคาร ลานจอดรถในอาคาร มุมอับต่าง ๆ ที่ไม่สามารถมองเห็นได้ ตัวกระจกเป็นกระจกเงาแท้ ไม่แตกลายเมื่อตากแดด

กรอบทำจากพลาสติก : มีสีแดง(Stock) , สีน้ำเงิน สีส้ม สีเขียว (no stock) หรือตามลูกค้าต้องการและมี 4 ขนาดให้เลือกตามความเหมาะสม

ชนิดที่ 2 แบบเลนส์ PC กรอบพลาสติก

  • กระจก โค้งชนิดโพลีคาร์บอเนต ซึ่งปัจจุบันเป็นที่นิยมกันแพร่หลาย เพราะกระจกโค้งชนิดโพลีคาร์บอเนค มีคุณลักษณะคือ ตกแล้วไม่แตก และสามารถยุบตัวได้ และราคาไม่แพง เหมาะสำหรับกับการติดตั้งในที่ต่างๆ และไม่เป็นอันตราย

กรอบทำจากพลาสติก : มีสีแดง(Stock) , สีน้ำเงิน สีส้ม สีเขียว (no stock) หรือตามลูกค้าต้องการและมี 4 ขนาดให้เลือกตามความเหมาะสม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง : 18 นิ้ว, 24 นิ้ว และ 32 นิ้ว

              กระจกมองโค้ง กระจกโค้ง

วัตถุซึ่งมีผิวสะท้อนเป็นผิวโค้งทรงกลมได้แก่กระจกโค้งทรงกลมซึ่งได้มาจากส่วนหนึ่ง ของผิวทรงกลม ถ้าจุดCเป็นจุดศูนย์กลางเพราะของทรงกลมและจะเป็นจุดศูนย์กลางความโค้ง ของกระจกด้วย เส้นที่ลากผ่าน จุดศูนย์กลางไปหากระจก ณ บริเวณจุดใจกลางบน เพราะผิวโค้งเรียกว่า เส้นขนานมุขสำคัญ กระจกโค้งทรงกลมแบ่งเป็น สองชนิดคือ กระจกโค้งเว้า และกระจกโค้งนูน