เราคงทราบถึงประโยชน์และการใช้งาน ที่มีหน้าที่หลัก เป็นเครื่องหมายทางจราจรมีสีส้มสะดุดตา ที่สามารถเห็นได้ในเวลากลางวัน และกลางคืน มักจะเห็นได้ในชีวิตประจำวันบนท้องถนน  โดยเฉพาะถนนเส้นที่รถติด ที่ต้องคอยแยกหรือรวมช่องทางการจราจรให้เพียงพอกับปริมาณรถที่วิ่งในขณะนั้น กรวยจราจร (traffic cone) เป็นอุปกรณ์ทางจราจรชนิดหนึ่ง มีประโยชน์ใช้เพิ่มความปลอดภัยในการจราจรบนท้องถนน เพื่อให้ผู้ขับขี่ยานพาหนะลดความเร็ว และเกิดความระวังในการใช้ถนน

ข้อมูลที่กล่าวไปนั้นถือเป็นข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับตัว กรวยจราจร (traffic cone) แต่เชื่อว่า หลายคนคงยังไม่ทราบถึงที่มาของกรวยจราจรว่า มีที่มาอย่างไรและเกิดขึ้นได้อย่างไร ซึ่งข้อมูลต่อไปนี้  เป็นข้อมูลเบื้องต้น ที่จะเล่าถึงที่มา เพื่อเป็นความรู้ และสามารถนำกรวยจราจรไปใช้ได้อย่างถูกต้อง

ประวัติกรวยจราจร กรวยจราจร (traffic cone)

ประวัติ กรวยจราจร (traffic cone)

กรวยจราจร มีประวัติ ว่าถูกคิดค้นโดยนาย Charles D. Scanlon ชาวอเมริกา โดยเหตุผลที่เขาคิดมันขึ้นมาก็เนื่องจากเขาเป็นพนักงานทาสีถนนแล้วจะต้องมีเครื่องหมายกั้นไม่ให้เข้าเนื่องจากสียังไม่แห้ง กรวยจราจร จึงได้กำเนิดขึ้นจากเหตุนี้ และได้ยื่นจดสิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์นี้ และได้รับสิทธิบัตรในปี 1943 ในชื่อ Safety marker (US 2817308)กรวย-กรวยจราจร-2

แต่กรวยจราจร ที่จดในชื่อ Traffic cone กลับถูกปรับปรุงและจดสิทธิบัตรใหม่ โดยนาย Herman Blumenthal ที่ยืนจดสิทธิบัตรในปี 1953 โดยได้ปรับเปลี่ยนที่ฐานเป็นสี่เหลี่ยมเพื่อไม่ให้กลิ้งเวลาล้มลง และบอกว่าเพื่อการจัดการการจราจร แทนที่จะเป็นการกั้นไม่ให้เข้าพื้นที่เหมือนของ Scanlon และได้รับสิทธิบัตรในปี 1955 (US 2719505)  แต่ในปีนั้นเอง นาย Scanlon ก็ได้พัฒนาและจดสิทธิบัตรใหม่เพิ่มอีก โดยคราวนี้เขาได้เพิ่มความยืดหยุ่นเข้ามาในกรวยจราจร โดยที่เมื่อมีการชนแล้วยุบเข้าไปก็จะคืนรูปกลับมาดังเดิม  และได้รับสิทธิบัตรในปี 1957 (US2817308)

กรวยจราจร (traffic cone)

ซึ่งกรวยจราจรในปัจจุบันเหมือนรวมความสามารถของทั้ง 2คนเข้ามาด้วยกัน คือเป็นลักษณะฐานสี่เหลี่ยมและมีความยืดหยุ่น และมีวัตถุประสงค์เพื่อการบอกห้ามผ่านเข้าพื้นที่ หรือการกีดขวางการจราจร

โดยกรวยในยุคเริ่มแรกนั้นรีไซเคิลมาจากแกนใยถักในยางรถยนต์ ส่วนที่เน้นเป็นพิเศษในกรวยยุคแรกคือ ฐานของกรวยนั้นต้องเป็นลูกกลมยกให้ตัวฐานกว้างสูงขึ้นจากพื้นเล็กน้อย เพื่อให้วางทับเส้นถนนที่เพิ่งทาสีได้  แนวทางการออกแบบนี้เริ่มหายไปในยุคหลังเพราะเราใช้กรวยมากั้นถนนในเหตุการณ์อื่นๆ นอกจากการทาสีถนนแล้ว  การออกแบบบกรวยมีความพิเศษในยุคนั้นคือมันซ้อนกันเพื่อขนไปทีละมากๆ ได้โดยง่าย Scanlon จงใจให้ด้านบนของกรวยต้องเปิดเป็นรูเอาไว้  เพื่อเป็นทางเข้าอากาศเมื่อจะแยกกรวยออกจากการ จะได้ไม่ติดเหมือนตอนเราซ้อนแก้ว การที่มีรูระบายด้านบนยังทำให้เราสามารถเสียบธง หรือป้ายเพิ่มเติมได้ด้วย

Scanlon เองยังไม่หยุดพัฒนากรวยต่อไป ในปี 1955 เขาเองก็ยื่นสิทธิบัตรฉบับใหม่แสดงการพัฒนากรวย โดยยังใช้ฐานวงกลมเช่นเดิม (อาจจะเพื่อหลีกเลี่ยงการทับซ้อนกับสิทธิบัตรของ Blumenthal ที่ยื่นไปตั้งแต่ปี 1953) โดยเลือกพัฒนาเป็น “ติ่ง” ที่ฐานแทน ทำให้กรวยรุ่นใหม่ไม่กลิ้ง แต่อีกส่วนที่เพิ่มเข้ามาคือกรวยใหม่นี้คือการยืดหยุ่นให้กลับมารูปเดิมได้  ในกรณีที่ถูกชนจนพับไป อาจจะนับได้ว่าเมื่อรวมความยืดหยุ่นของกรวยในสิทธิบัตรนี้ และฐานสี่เหลี่ยมของ Blumenthal แล้ว กรวยไม่ได้มีพัฒนาการสำคัญอะไรอีกเลยในช่วงเวลาเกือบ 60 ปีมานี้

กรวยจราจร (traffic cone)

 

และแนวทางการพัฒนากรวยยังมีการพัฒนาเรื่อยมา สิทธิบัตรฉบับล่าสุดที่อ้างถึงสิทธิบัตรของ Scanlon เพิ่งได้รับสิทธิบัตรในปี 2010 นี้ แนวคิดและความพยายามทั้งหมดยังคงอยู่ในรูปแบบเดิมคือ สัญลักษณ์บอกแนวจราจรนี้ต้องสร้างได้ง่าย สามารถขนย้ายสะดวกประหยัดพื้นที่เก็บ ทนทานต่อการชน แนวทางเช่นนี้ทำให้ผู้รับผิดชอบต่อการก่อสร้าง การทาสีถนน หรือการกีดขวางทางจราจรอื่นๆ สามารถวางจุดสังเกตให้กับผู้กับขี่ได้ตั้งแต่เนิ่นๆ เพิ่มความปลอดภัยบนท้องถนน